BANNER
เกี่ยวกับหน่วยงาน

    

ประวัติความเป็นมา

โครงสร้าง

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ

บุคลากรภายในหน่วยงาน

คณะกรรมการตรวจสอบภายใน

ประวัติความเป็นมา

      การตรวจสอบภายในภาคราชการเริ่มมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 โดยระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. 2505 ได้กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้ง ข้าราชการในหน่วยงาน 1 คนหรือหลายคนเป็นผู้ตรวจสอบภายในรับผิดชอบในการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินและตรวจสอบด้านอื่นตามที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายเป็นการภายใน และรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการอย่างน้อยเดือนละครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ข้อกำหนดเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในได้ถูกนำไปกำหนดไว้ในระเบียบการรับจ่าย การเก็บรักษา และการนำส่งเงินของส่วนราชการ พ.ศ. 2516 แทน โดยกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แต่งตั้งข้าราชการไม่ต่ำกว่าชั้นตรีอย่างน้อย 2 คนเป็นกรรมการตรวจสอบการเงินประจำเดือนทุกเดือน และมีการแก้ไขปรับปรุงในปี พ.ศ.2520 โดยเปลี่ยนแปลง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายในจากเดิมที่กำหนดให้ทำงานในลักษณะของคณะกรรมการตรวจสอบการเงินเป็นแต่งตั้งข้าราชการอย่างน้อย 1 คนเป็นผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการนั้นหรือของส่วนราชการในส่วนภูมิภาคในจังหวัดนั้น แล้วแต่กรณี

      พ.ศ. 2519 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เทียบเท่ารวมถึงจังหวัดทุกจังหวัดมีตำแหน่งอัตรากำลังเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการ หรือของจังหวัดโดยเฉพาะ โดยให้ปฏิบัติงานขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ว่าราชการ จังหวัด แล้วแต่กรณี และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบในการฝึกอบรม

     ระเบียบการเก็บรักษา และนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2520 กำหนดให้หน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นหน่วยงานอิสระขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบเอกสาร ใบสำคัญต่าง ๆ และการบันทึกบัญชี ต่อมากระทรวงการคลังได้ออกระเบียบว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ กำกับบทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน

      พ.ศ. 2532 กำหนดให้การตรวจสอบการปฏิบัติราชการต่าง ๆ ของส่วนราชการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การบริหารการเงินและบัญชี การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน และการบริหารงานด้านอื่น ๆ ของส่วนราชการตามที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย

      พ.ศ. 2535 กำหนดให้การตรวจสอบการปฏิบัติราชการต่าง ๆ ของส่วนราชการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การบริหารการเงินและบัญชี การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน และการบริหารงานด้านอื่น ๆ ของส่วนราชการโดยหัวหน้าส่วนราชการมอบหมายงานอื่นได้ ยกเว้นดังต่อไปนี้

      1.งานตรวจก่อนจ่าย
      2.งานประจำ
      3.กรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ยกเว้น กรรมการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง
               
      พ.ศ. 2536 - 2537 กระทรวงการคลังกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ จำนวน 5 ฉบับ และ พ.ศ. 2540 กระทรวงการคลังกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบภายใน ของส่วนราชการเพิ่มอีก 1 ฉบับ ดังต่อไปนี้

     ฉบับที่ 1 มาตรฐานการตรวจสอบภายใน

     ฉบับที่ 2 มาตรฐานการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน

     ฉบับที่ 3 มาตรฐานการรายงาน และฉบับแก้ไขปี 2538

     ฉบับที่ 4 มาตรฐานการวางแผนการตรวจสอบและแผนงานตรวจสอบ

     ฉบับที่ 5 มาตรฐานกระดาษทำการ

     ฉบับที่ 6 มาตรฐานการติดตามผลการตรวจสอบ

      ในปลายปี พ.ศ. 2541 ถึงต้นปี 2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ให้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประจำกระทรวงเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลระบบการควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายในในภาพรวมของกระทรวงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในให้เป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารในการควบคุม ติดตาม การใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน งานโครงการต่าง ๆ และให้จัดตั้งกลุ่มงานตรวจสอบภายในระดับ กระทรวง เพื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ และทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในของกระทรวงโดยมุ่งเน้นการตรวจสอบงานโครงการที่มีความสำคัญ หรือที่มีความเสี่ยงสูง หรือที่มีสัญญาณบอกเหตุว่า อาจจะมีความเสียหายเกิดขึ้นโดยประสานแผนการตรวจสอบกับหน่วยตรวจสอบภายในระดับกรม เพื่อให้การตรวจสอบมีขอบเขตงานที่กว้างขวาง และไม่ซ้ำซ้อนกัน

       พ.ศ. 2542 กำหนดให้ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนงานที่เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน การบริหารงานด้านอื่น ๆ การตรวจสอบบัญชี การวิเคราะห์ประเมินความเพียงพอ และประสิทธิผลของการควบคุมภายใน

       พ.ศ. 2545 กำหนดมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการโดยยกเลิกมาตรฐานการตรวจสอบภายใน ฉบับที่ 1

       พ.ศ. 2546 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนดระเบียบ ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

       พ.ศ. 2551 ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2551 แทน (คลิกที่นี่)

 วัตถุประสงค์การตรวจสอบ

    1.เพื่อตรวจสอบ และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการดำเนินงาน
    2.เพื่อตรวจสอบความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงิน รวมทั้งความถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงิน
    3.เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง
 
สายการบังคับบัญชา

    1.หน่วยตรวจสอบเป็นหน่วยงานอิสระ ทั้งในการปฏิบัติงาน และการเสนอความคิดเห็นในการตรวจสอบ
    2.หน่วยตรวจสอบขึ้นตรงต่อผู้บริหารสูงสุด
    3.การเสนอแผนการตรวจสอบประจำปี เสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย
    4.การรายงานผลการตรวจสอบ ให้เสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย

วิสัยทัศน์

พัฒนางานตรวจสอบ เพื่อสนับสนุนภารกิจ ของมหาวิทยาลัย ฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พันธกิจ

ตรวจสอบ แนะนำ และสนับสนุน ให้ทุกหน่วยงานมีการประเมินความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายในที่ดี

ภารกิจ

   1.ตรวจสอบรายงานต่าง ๆ ว่าได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง มีระบบการควบคุมภายในที่ดี รัดกุม และเหมาะสม
   2.ประเมินผล วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ข้อมูลทุกด้านในการปฏิบัติงานว่า ครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้หรือไม่
   3.สอบทานวิธีการป้องกันดูแลรักษาทรัพย์สินประเมินการใช้ทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุ้มค่า
   4.สอบทาน และประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในที่ฝ่ายบริหารกำหนด
   5.ให้คำปรึกษา เสนอแนะ แก่หน่วยรับตรวจ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กฏบัตร กรอบคุณธรรม และนโยบายการเก็บรักษาข้อมูลความลับการตรวจสอบภายใน

     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้จัดทำแถลงการณ์กฏบัตร กรอบคุณธรรมการตรวจสอบภายในขึ้น ดังนี้

กฎบัตรการตรวจสอบภายใน และกรอบคุณธรรมการตรวจสอบภายในประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2566  


กฎบัตรการตรวจสอบภายใน กรอบคุณธรรม และนโยบายการเก็บรักษาข้อมูลความลับการตรวจสอบภายในประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 

กฎบัตรการตรวจสอบภายใน และกรอบคุณธรรมการตรวจสอบภายใน พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564

กฎบัตรการตรวจสอบภายใน (Internal Audit Unit Charter Year 2019) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2562  

กฎบัตรการตรวจสอบภายใน ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป

กฏบัตรการตรวจสอบภายใน ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไป สามารถดาวน์โหลดกฎบัตรได้จากที่นี่ (คลิกที่นี่)

บุคลากรภายในหน่วยงาน    

1. นางศิรินาฏ   ลือชาเชวง         หัวหน้ากลุ่มงานตรวจสอบภายใน                    โทร. 02-470-8136   

2. นางสาวเจนจิรา  เชื้อบุญอุ้ม     ผู้ตรวจสอบภายใน                                         โทร.02-470-8140      

3. นายเฉลิมชัย  อนันตพฤทธิ์     ผู้ตรวจสอบภายใน                                           โทร. 02-470-8140    

4. นายวริทธ์กุญช์ อิสริยวรภูวดล ผู้ตรวจสอบภายใน                                          โทร. 02-4708433     

5. นางสาวทิพย์มณฑา ทับทอง    ผู้ตรวจสอบภายใน                                          โทร. 02-4708433      

6.  นางสาวชุติมา เลิศรัศมีวงศ์    นักบริหารทั่วไป                                               โทร. 02-470-8136     

  

คณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

กฎบัตร คณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2567 คลิกที่นี่  

กฎบัตร คณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2566 คลิกที่นี่  

กฎบัตร คณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2565 คลิกที่นี่

กฎบัตร คณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2564 คลิกที่นี่

กฎบัตร คณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2563 คลิกที่นี่

กฎบัตร คณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2558 คลิกที่นี่

รายงานคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

รายงานคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปีงบประมาณ 2566 คลิกที่นี่

           วันที่ 2 กันยายน 2563 สภามหาวิทยาลัยฯ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย ตามคำสั่งเลขที่ 0012/2563  ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบดังรายนามต่อไปนี้    

1. นายเขมทัต            สุคนธสิงห์           ประธานคณะกรรมการ 
2. รศ.ดร.หริส             สูตะบุตร              กรรมการ 
3. ดร. ธาริษา             วัฒนเกส              กรรมการ 
4. รศ.ดร. วิรัช            อภิเมธีธำรง         กรรมการ 
5. ศ.ดร. นักสิทธิ์         คูวัฒนาชัย          กรรมการ 
6. หัวหน้ากลุ่มงานตรวจสอบภายใน       เลขานุการคณะกรรมการ 

          วันที่ 10 มิถุนายน 2550 สภามหาวิทยาลัยฯ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย ตามคำสั่งที่ 09/2550 ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบดังรายนามต่อไปนี้

1.ดร.พิสิฐ                   ลี้อาธรรม           ประธานคณะกรรมการ
2.รศ.ดร.หริส              สูตะบุตร             กรรมการ
3.นายเขมทัต              สุคนธสิงห์          กรรมการ
4.นายสมประสงค์        บุญยะชัย           กรรมการ
5.นางยุพา                   บัวธรา               กรรมการ
6.นางมาลี                   สายวงศ์             เลขานุการคณะกรรมการ
         

โดยให้คณะกรรมการมีหน้าที่

1.จัดวางระบบในการตรวจสอบภายใน
2.ดำเนินการตรวจสอบภายในทั้งในการดำเนินงานด้านการเงินและบัญชี การควบคุมภายใน การประเมินและบริหารความเสี่ยง
3.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามมติสภามหาวิทยาลัยในบางเรื่องที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
4.รายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภามหาวิทยาลัยเป็นรายไตรมาส


          วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 สภามหาวิทยาลัยฯ มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย ตามคำสั่งที่ 03/2551 โดยแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ดังรายนามต่อไปนี้

1.นายเขมทัต             สุคนธสิงห์        ประธานกรรมการ
2.รศ.ดร.หริส             สูตะบุตร           กรรมการ
3.นายสมประสงค์       บุญยะชัย          กรรมการ
4.ศ.ดร.นักสิทธิ์         คูวัฒนาชัย         กรรมการ
5.นางมาลี                 สายวงศ์           เลขานุการคณะกรรมการ

        วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 สภามหาวิทยาลัยฯ มีคำสั่งแต่งตั้ง รศ.ดร.วิรัช อภิเมธีธำรง ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย (เพิ่มเติม) ตามคำสั่งที่ 004/2558 

          วันที่ 11 กรกฎาคม 2551 มหาวิทยาลัยได้มีข้อบังคับว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ องค์ประกอบ คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ (คลิกที่นี่)

          จากการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย คณะกรรมการมีความเห็นชอบให้มหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้คณะกรรมมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง ส่งเสริม สนับสนุน และให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินงานของคณะทำงานบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ทบทวนแผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย ควบคุมและติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง โดยมหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้ง ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 คำสั่งที่ 151/2552  

         คำสั่งสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ 10/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย โดยที่เห็นสมควรปรับปรุงหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยให้ชัดเจนเกี่ยวกับการควบคุมภายใน การประเมินและบริหารความเสี่ยง (คำสั่งที่ 10/2554)

         วันที่ 5 กรกฎาคม 2560 มติสภามหาวิทยาลัยฯ ครั้งที่ 215 ยกเลิกคำสั่งสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ 10/2554 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 และ ที่ 0004/2558 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย ตามคำสั่งที่ 0013/2560

        คำสั่งสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ 0002/2563 เรื่อง แก้ไขและเพิ่มเติมคำสั่งสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ 0013/2560 ลงวันที่ 5 กรกฏาคม 2560