ข่าวประกาศ

 

เงินทองเรื่องต้องรู้ เรื่อง "บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า ตอนที่ 1"

ปีใหม่แล้ว  อยากเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมทำบุญเสริมดวงชะตา คนไทยเราเป็นคนใจบุญ หากพอจะมีเงินเหลือกิน เหลือใช้บ้าง  ก็มักจะบริจาคเงินช่วยเหลือสังคม ให้วัด ให้โรงเรียน  นับเป็นการสร้างเนื้อนาบุญไว้ชาติหน้าจะได้สบาย  ถ้าเป็นสมัยก่อนก็อาจจะยังไม่ทันเห็นผลบุญที่ได้ทำในชาตินี้   แต่ปัจจุบันเมื่อเราทำบุญแล้วเราก็ได้รับผลบุญในชาตินี้ล่วงหน้าเลย คือได้เงินคืนจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี 1 เท่า หรือ 2 เท่า      คนไทยเราส่วนใหญ่เมื่อทำบุญแล้วก็อยากได้รับผลจากบุญที่ทำทันตาเห็น  ไหนๆ เมื่อบริจาคเงินแล้วหากสามารถเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ช่วยให้ลดหย่อนภาษีได้บ้างก็นับเป็นสิ่งที่ดี  และจะเป็นการดียิ่งขึ้นหากบริจาคแล้วสามารถลดหย่อนได้ถึง 2 เท่า  จึงเป็นที่มาของข้อความฮิตติดอันดับในการค้นหาแห่งปี  คือ  บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า”    

 บริจาคอย่างไร หักภาษีได้ 2 เท่า”   คำตอบของเรื่องนี้  คือ   รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้คนที่พอจะมีกินมีใช้แล้วเหลือพอที่บริจาคเงินช่วยเหลือสังคมได้   ก็อนุญาตให้นำเงินที่บริจาคไปนั้นนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งจำนวน  แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน   และ เงินบริจาคที่รัฐอนุญาตให้ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้นั้น ในหมวดที่ บริจาคให้มหาวิทยาลัยฯแล้วสามารถนำไปลดหย่อนได้  2 เท่า   ต้องเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการดังต่อไปนี้

(1) จัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดินให้แก่สถานศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

(2) จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่สถานศึกษา ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด

(3) จัดหาครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเป็นทุนการศึกษา การประดิษฐ์ การพัฒนา การค้นคว้า หรือการวิจัย สำหรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาของสถานศึกษา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด   ( หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในหลักการของประมวลรัษฎากรเรื่องนี้โปรดอ่านเพิ่มเติม   พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547)

จากสิทธิประโยชน์ทางภาษี ข้างต้น ประกอบกับ ผู้บริหารของเราท่านมีสายตาอันยาวไกลอยากให้เราและท่านทั้งหลายได้สร้างเสริมบารมีทั้งชาตินี้และชาติหน้า  จึงมอบหมาย นโยบายสำคัญเรื่องเงินบริจาค โดยอาศัยโอกาสจากการที่ มหาวิทยาลัยฯของเราเป็นสถานศึกษาของรัฐ (ตามที่รมต.คลังกำหนด ) ซึ่งผู้ใดบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้มหาวิทยาลัยแล้ว  สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้เป็นจำนวน 2 เท่า   ดังนั้น   ในลำดับแรกนี้ จึงเชิญชวนให้ทุกท่านวางแผนภาษีด้วยเงินบริจาคให้เกิดประโยชน์สูงสุด  แบบง่ายสุดไม่ต้องคิดมาก โดยบริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยฯเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาตามรายการข้างต้นทั้ง 3 รายการ  แค่นี้ก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า และสำหรับท่านที่บริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยฯเพื่อการศึกษาแล้ว เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์และคุณสมบัติ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ..2538 ที่กำหนดแล้ว มหาวิทยาลัยฯก็จะเสนอขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ จัดสร้างเมื่อ พ..2534 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาให้สร้าง

สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน ตามที่ทรงพระราชดำริ มี 7 ชั้น ซึ่งผู้ที่จะเสนอขอพระราชทานต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีความประพฤติดี

2. ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

3. ไม่เคยถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามกฎหมายนี้หรือตามกฎหมายอื่น เว้นแต่เป็นการต้องส่งคืนเนื่องจากได้รับพระราชทานชั้นสูงขึ้น  การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชฯ ดิเรกคุณาภรณ์ ให้เป็นไปตาม พรฎ. ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชฯ ดิเรกคุณาภรณ์ พ..2538 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ..2549 จำแนกการกระทำความดีความชอบเป็น 2 ประเภท   คือ กรณีผลงาน และ กรณี บริจาคทรัพย์สิน เพื่อสาธารณประโยชน์    

1. กรณีผลงาน จะต้องเป็นผลงานดีเด่นหรือเป็นแบบอย่างอันควรแก่การสรรเสริญหรือเป็นการกระทำที่

ฝ่าอันตรายหรือเสี่ยงภัยเพื่อปกป้องชีวิตหรือทรัพย์สินอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือประเทศ โดยต้องเป็นผลงานของตนเอง และไม่เคยใช้เสนอขอพระราชทานจนได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ มาแล้ว ถ้าเป็นผลงานที่ทำร่วมกันเป็นหมู่คณะ จะต้องสรุปแยกผลงานของแต่ละบุคคลให้ชัดเจนเพื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลได้การเสนอขอกรณีมีผลงานมาแล้ว 5 ปี ตามปกติให้เริ่มเสนอขอชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (...) และให้เสนอขอชั้นสูงขึ้นหนึ่งชั้นตามลำดับเมื่อกระทำความดีความชอบเพิ่มขึ้นจนถึงชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (..)โดยเว้นระยะเวลาแต่ละชั้นตราไม่น้อยกว่า 5 ปี

2. กรณีบริจาคทรัพย์สิน เพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น เพื่อการแพทย์การสาธารณสุข   การศึกษา    ศาสนา พัฒนาชุมชน สังคมสงเคราะห์หรือความมั่นคงของชาติ จะเสนอขอได้   ตามมูลค่าของทรัพย์สินที่รวบรวมได้ครบตามจำนวนเงิน ที่กำหนดแต่ละชั้นตรา ดังนี้   ไม่ต้องเว้นระยะเวลา 5 ปี เหมือนกรณีผลงาน   แต่ถ้า

เคยได้รับพระราชทานชั้นใดแล้วจะเสนอขอซ้ำชั้นเดิม หรือ ขอชั้นต่ำกว่าเดิมมิได้  ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่บริจาคต้องเป็นของ ผู้บริจาคหรือที่ผู้บริจาคมีสิทธิบริจาคได้ในนามของตน  การบริจาคในนามบริษัทห้างร้าน มิให้นำมาเสนอขอตามปกติ  

- การบริจาคทรัพย์สินร่วมกันหลายคน ให้แสดงให้ชัดเจน  ว่าแต่ละคนได้บริจาคเท่าใด ถ้าไม่ได้แสดงรายละเอียด   ดังกล่าว ให้ถือว่าแต่ละคนได้บริจาคเท่าๆ กัน

- การบริจาคทรัพย์สินที่มิใช่เงิน ต้องมีหนังสือรับรองมูลค่า แห่งทรัพย์สินที่บริจาคจากส่วนราชการที่เสนอขอหรือ  นิติบุคคลที่ได้รับบริจาค  (แยกต่างหากจาก นร.2) เช่น บริจาค ที่ดิน ต้องให้เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ออกหนังสือรับรองมูลค่า ของที่ดินแปลงที่บริจาค ซึ่งเป็นราคา ณ ปีที่มีการโอนให้ราชการ  อย่างแท้จริง

- การบริจาคทรัพย์สิน ซึ่งถ้าจะซื้อขายกัน จะต้องทำเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนเสียก่อน

- ทรัพย์สินที่บริจาคต้องไม่เคยใช้เสนอขอพระราชทาน จนได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ตามกฎหมายนี้หรือกฎหมาย อื่นมาแล้วและต้องไม่มีเงื่อนไขหรือภาระติดพันใด ๆ ถ้าเป็นการบริจาคหรือกระทำผลงานให้นิติบุคคล  นิติบุคคลนั้นต้องมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการอันเป็น สาธารณประโยชน์ ตามรายชื่อที่สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศ  กำหนดในราชกิจจานุเบกษา (ปัจจุบันมี 40 นิติบุคคล) ซึ่ง

หน่วยงานหรือนิติบุคคลที่ได้รับบริจาคมีหน้าที่ในการพิจารณา ออกหนังสือรับรองแสดงรายการบริจาคทรัพย์สิน (แบบ นร.2) ให้ผู้บริจาคทุกครั้งที่มีการบริจาค โดยให้ผู้มีอำ นาจตามกฎหมายอย่างแท้จริงลงนามในแบบ นร.2 ตามที่กฎหมาย กำหนดทุกครั้ง (บริจาค 1 ครั้ง ออกหนังสือรับรอง 1 ฉบับ)

การออก นร.2 สำหรับการบริจาคให้หน่วยงาน ในส่วนภูมิภาคสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ให้ดำเนินการ ดังนี้

- ครั้งละไม่เกินห้าแสนบาท ให้นายอำ เภอและ สาธารณสุขอำเภอแห่งท้องที่ที่มีการบริจาคลงนามในแบบ นร.2 (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ผู้อำนวยการ  วิทยาลัยพยาบาลไม่ใช่หัวหน้าส่วนราชการตามกฎหมาย)

- ครั้งละเกินห้าแสนบาท ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดที่มีการบริจาคลงนามใน

แบบ นร.2 โดยไม่มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน

- การบริจาคให้นิติบุคคล 40 แห่ง ให้นิติบุคคล  ดำเนินการออกแบบ นร.2 โดยให้ผู้แทนนิติบุคคลและเหรัญญิก หรือผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของนิติบุคคลร่วมลงลายมือชื่อ

ในแบบ นร.2 และให้ส่วนราชการที่ได้รับบริจาคมากที่สุดเป็น ผู้รวบรวมแบบ นร.2 แล้วพิจารณาเสนอขอพระราชทานให้บุคคลนั้น ต่อไป โดยเสนอคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองระดับจังหวัด ระดับกรม ระดับกระทรวงตามลำดับ ตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีฯ พ..2538 

                จากการเร่งระดมเงินบริจาค จึงทำให้มีข้อสงสัย ข้อหารือ ต่างๆ ตามมา  จึงถือโอกาสนี้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคเงินเพิ่มเติม ดังนี้

1. รับบริจาคเป็น  เงินสด   ให้ออกใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐาน โดยระบุชื่อผู้บริจาค จำนวนเงินที่บริจาค ระบุวัตถุประสงค์ แห่งการบริจาค เพื่อให้ผู้บริจาคที่เป็น บุคคลธรรมดาหรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปยกเว้นภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร

2. รับบริจาคเป็น  ทรัพย์สิน   ไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงิน แต่ให้ออกหลักฐานการรับบริจาคทรัพย์สิน       กรณี บุคคลธรรมดาต้องบริจาคเป็นเงินสด เท่านั้น จึงจะสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้     ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์เกิน 100,000 บาทขึ้นไป ให้ดำเนินการ ดังนี้

ให้หัวหน้าสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง จำนวนไม่เกิน 5 คน เพื่อ

ดำเนินการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองและภาระติดพันในทรัพย์สิน ประเมินราคาทรัพย์สินที่รับบริจาค รายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าสถานศึกษาเพื่อพิจารณา

หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ

บันทึกรับรู้ทรัพย์สินในระบบ GFMIS ตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด

กรณี รับบริจาคเป็นคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์  และผู้บริจาคประสงค์นำไปยกเว้นภาษีเงินได้ตาม

ประมวลรัษฎากร ต้องเป็นการบริจาค คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ไม่ผ่านการใช้งานมาแล้ว

การออกหลักฐานการรับบริจาค

ให้ หัวหน้าสถานศึกษาออกหนังสือรับรองตามมูลค่าที่ได้ดำเนินการหรือตามมูลค่าทรัพย์สินที่เกิน 100,000 บาท ขึ้นไป โดยประทับตราสถานศึกษา และลงลายมือชื่อหัวหน้าสถานศึกษาในหนังสือรับรอง ในการรับเงินหรือทรัพย์สินของสถานศึกษา มิให้สถานศึกษารับเงินบริจาคที่ผู้บริจาคระบุเงื่อนไขขอบการบริจาคอันเป็นภาระแก่สถานศึกษาเกินความจำเป็น

หลักเกณฑ์การรับบริจาค

1. คำนึงถึงผลได้ผลเสียประโยชน์และค่าตอบแทนที่จะได้รับ

2. กรณีรับบริจาคมีเงื่อนไขต้องไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้ใดโดยเฉพาะ

3. พิจารณาผลตอบแทนคุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียหรือไม่

4. กรณีรับบริจาคทรัพย์สินอื่นนอกจากเงิน ให้ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ก่อนเสมอ

5. รับบริจาคเงินหรือทรัพย์สินไม่ตรงกับอำนาจหน้าที่ให้ส่งมอบแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดูแลและบริหารทรัพย์แผ่นดินต่อไป

6. ให้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น

7. อาจตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาการรับบริจาคก่อนก็ได้

.........................................................................................................................................

 

ข้อมูลอ้างอิง

1. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ.2526

2. คำสั่งมอบอำนาจ สพฐ.ที่ 1268/2547 ลงวันที่ 5 เมษายน 2547 เรื่อง มอบอำนาจการตอบขอบใจหรืออนุโมทนา

3. คำสั่งมอบอำนาจ สพฐ.ที่ 265/2549 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2549 เรื่อง การมอบอำนาจการรับบริจาคเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ

4. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่สถานศึกษา พ.ศ. 2552

เห็นประโยชน์หลายต่อจากเงินบริจาคแล้วนะค่ะ  อยากให้ช่วยบอกกันต่อๆไป เพื่อที่จะได้มีคนบริจาคให้มหาวิทยาลัยของเรา เยอะๆ   และ ปัจจุบันหลายหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยก็ขานรับนโยบายนี้  ช่วยกันเร่งระดมทุนเงินบริจาค  นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ     และกองคลัง จะพยายามรวบรวมสิ่งดีๆ ที่มีสาระและเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้ทราบ  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลข้างต้นจะช่วยให้ความกระจ่างแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ ในเรื่องการรับบริจาค    สำหรับผู้อ่านหรือบุคลากรท่านใดที่ต้องการให้กองคลังเสนอบทความที่ท่านมีความสนใจเป็นพิเศษสามารถแนะนำได้ที่ กองคลัง   พบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ



ที่มา : หนังสือพิมพ์ อินไซด์ มจธ. ฉบับประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2556
โดย : คุณปริญดา เจิมจาตุผล ผู้อำนวยการกองคลัง มจธ.

KMUTT Intranet BANNER BANNER BANNER